เมนู

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [1. มหาวรรค] 1. ญาณกถา 1. สุตมยญาณนิทเทส
ชื่อว่าภาวนา เพราะมีความหมายว่านำความเพียรที่สมควรแก่ธรรมนั้น
เข้าไป เป็นอย่างไร
คือ พระโยคาวจรเมื่อละกามฉันทะ ย่อมนำความเพียรด้วยอำนาจแห่ง
เนกขัมมะเข้าไป เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่าภาวนา เพราะมีความหมายว่านำความเพียร
ที่สมควรแก่ธรรมนั้นเข้าไป เมื่อละพยาบาทย่อมนำความเพียรด้วยอำนาจแห่ง
อพยาบาทเข้าไป ฯลฯ เมื่อละกิเลสทั้งปวง ย่อมนำความเพียรด้วยอำนาจแห่ง
อรหัตตมรรคเข้าไป เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่าภาวนา เพราะมีความหมายว่านำความ
เพียรที่สมควรแก่ธรรมนั้นเข้าไป
ชื่อว่าภาวนา เพราะมีความหมายว่านำความเพียรที่สมควรแก่ธรรมนั้นเข้าไป
อย่างนี้
ชื่อว่าภาวนา เพราะมีความหมายว่าปฏิบัติเนือง ๆ เป็นอย่างไร
คือ พระโยคาวจรเมื่อละกามฉันทะ ย่อมปฏิบัติเนือง ๆ ซึ่งเนกขัมมะ เพราะ
ฉะนั้น จึงชื่อว่าภาวนา เพราะมีความหมายว่าปฏิบัติเนือง ๆ เมื่อละพยาบาท ย่อม
ปฏิบัติเนือง ๆ ซึ่งอพยาบาท เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่าภาวนา เพราะมีความหมายว่า
ปฏิบัติเนือง ๆ ฯลฯ เมื่อละกิเลสทั้งปวง ย่อมปฏิบัติเนือง ๆ ซึ่งอรหัตตมรรค
เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่าภาวนา เพราะมีความหมายว่าปฏิบัติเนืองๆ
ชื่อว่าภาวนา เพราะมีความหมายว่าปฏิบัติเนือง ๆ อย่างนี้
ภาวนา 4 ประการนี้ พระโยคาวจรเมื่อเห็นรูป ชื่อว่าเจริญอยู่ เมื่อเห็นเวทนา
ฯลฯ เมื่อเห็นสัญญา ฯลฯ เมื่อเห็นสังขาร ฯลฯ เมื่อเห็นวิญญาณ ฯลฯ เมื่อเห็น
จักขุ ฯลฯ เมื่อเห็นชราและมรณะ ฯลฯ เมื่อเห็นธรรมที่หยั่งลงสู่อมตะคือนิพพาน
เพราะมีสภาวะเป็นที่สุด ชื่อว่าเจริญอยู่ ธรรมใด ๆ ที่ได้เจริญแล้ว ธรรมนั้น ๆ มีรส
เป็นอย่างเดียวกัน
ชื่อว่าญาณ เพราะมีสภาวะรู้ธรรมนั้น ชื่อว่าปัญญา เพราะมีสภาวะรู้ชัด
เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า การทรงจำธรรมที่ได้สดับมาว่า “ธรรมเหล่านี้
ควรเจริญ” ปัญญารู้ชัดธรรมที่ได้สดับมานั้น ชื่อว่าสุตมยญาณ (4)
จตุตถภาณวาร จบ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 31 หน้า :45 }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [1. มหาวรรค] 1. ญาณกถา 1. สุตมยญาณนิทเทส
[29] การทรงจำธรรมที่ได้สดับมาว่า “ธรรมเหล่านี้ควรทำให้แจ้ง”
ปัญญารู้ชัดธรรมที่ได้สดับมานั้น ชื่อว่าสุตมยญาณ เป็นอย่างไร คือ
ธรรม 1 อย่างที่ควรทำให้แจ้ง คือ เจโตวิมุตติที่ไม่กำเริบ
ธรรม 2 อย่างที่ควรทำให้แจ้ง คือ วิชชา 1 วิมุตติ 1
ธรรม 3 อย่างที่ควรทำให้แจ้ง คือ วิชชา 3
ธรรม 4 อย่างที่ควรทำให้แจ้ง คือ สามัญญผล 4
ธรรม 5 อย่างที่ควรทำให้แจ้ง คือ ธรรมขันธ์ 51
ธรรม 6 อย่างที่ควรทำให้แจ้ง คือ อภิญญา 6
ธรรม 7 อย่างที่ควรทำให้แจ้ง คือ ขีณาสวพละ 7
ธรรม 8 อย่างที่ควรทำให้แจ้ง คือ วิโมกข์ 8
ธรรม 9 อย่างที่ควรทำให้แจ้ง คือ อนุปุพพนิโรธ 92
ธรรม 10 อย่างที่ควรทำให้แจ้ง คือ อเสขธรรม 103
ภิกษุทั้งหลาย สิ่งทั้งปวงควรทำให้แจ้ง สิ่งทั้งปวงที่ควรทำให้แจ้ง คืออะไร
คือ จักขุควรทำให้แจ้ง รูปควรทำให้แจ้ง จักขุวิญญาณควรทำให้แจ้ง จักขุ-
สัมผัสควรทำให้แจ้ง สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนาที่เกิดขึ้นเพราะ
จักขุสัมผัสเป็นปัจจัยควรทำให้แจ้ง
โสตะควรทำให้แจ้ง สัททะ ฯลฯ
ฆานะควรทำให้แจ้ง คันธะ ฯลฯ
ชิวหาควรทำให้แจ้ง รส ฯลฯ
กายควรทำให้แจ้ง โผฏฐัพพะ ฯลฯ

เชิงอรรถ :
1 ธรรมขันธ์ 5 ได้แก่ (1) สีลขันธ์ (2) สมาธิขันธ์ (3) ปัญญาขันธ์ (4) วิมุตติขันธ์ (5) วิมุตติญาณ-
ทัสสนขันธ์ (ขุ.ป.อ. 1/29/147)
2 อนุปุพพนิโรธ 9 ได้แก่ (1) กามสัญญา (2) วิตกวิจาร (3) ปีติ (4) ลมอัสสาสะ ปัสสาสะ (5) รูปสัญญา
(6) อากาสานัญจายตนสัญญา (7) วิญญานัญจายตนสัญญา (8) อากิญจัญญายตนสัญญา (9) สัญญาและ
เวทนา (ขุ.ป.อ. 1/29/149)
3 อเสขธรรม 10 ได้แก่ (1) สัมมาทิฏฐิ (2) สัมมาสังกัปปะ (3) สัมมาวาจา (4) สัมมากัมมันตะ
(5) สัมมาอาชีวะ (6) สัมมาวายามะ (7) สัมมาสติ (8) สัมมาสมาธิ (9) สัมมาญาณ (10) สัมมาวิมุตติ
(ขุ.ป.อ. 1/29/150)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 31 หน้า :46 }